เนื้อจมูกน้อย ทำทรงไหนดี หมอกิ๊ฟมีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก

เนื้อจมูกน้อย ทำทรงไหนดี เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก

แม้ว่าคุณจะมีปัญหาจมูกเนื้อน้อย จมูกแบน จนรู้สึกไม่มั่นหน้าในตัวเองเลยก็ตาม แต่ในปัจจุบันมีเทคนิคการเสริมจมูกมากมายที่ช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้ แถมยังช่วยให้คุณมีจมูกที่สวยและเหมาะกับใบหน้าของตัวเองมากยิ่งขึ้น ว่าแต่เนื้อจมูกน้อย ทำทรงไหนดี เรามีคำตอบค่ะ

ดูยังไงว่าเนื้อจมูกน้อยหรือเยอะ

สำหรับวิธีเ้ช็กเนื้อจมูกว่าน้อยหรือไม่ ให้ลองใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณสันจมูก หากดึงเนื้อออกมาได้น้อยหรือแทบดึงออกมาไม่ได้เลย แสดงว่าคุณมีเนื้อจมูกน้อยค่ะ ด้วยความเนื้อจมูกค่อนข้างน้อยจึงอาจมีปัญหาหลังเสริมจมูกได้ หากคุณมีเนื้อหรือหนังจมูกไม่ยืดหยุ่นพอก็อาจเสี่ยงต่อภาวะจมูกทะลุได้ในระยะยาว ดังนั้นการเสริมจมูกของคนที่มีเนื้อจมูกน้อยอาจจะต้องเลือกทรงจมูกที่ไม่สูงมากหรือโด่งมากเกินไป และหากเนื้อจมูกของคุณไม่ยืดหยุ่นมากพอ ศัลยแพทย์จะไม่แนะนำให้เสริมจมูกค่ะ

สาเหตุของเนื้อจมูกน้อย

  • พันธุกรรมจากคนในครอบครัว หากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายมีเนื้อจมูกน้อย ลูกหลานก็มีโอกาสได้รับพันธุกรรมนี้มาเหมือนกันค่ะ
  • คนไข้เคยฉีดฟิลเลอร์เติมเนื้อจมูก หรือผ่านการเสริมจมูกด้วยซิลิโคนมาก่อน ทำให้เกิดการดึงรัดเนื้อเดิม

 


เนื้อจมูกน้อยมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

  • เนื้อจมูกน้อยระดับ 1 เป็นจมูกที่มีเนื้อบริเวณสันจมูกน้อย แต่ยังดึงเนื้อยึดขึ้นมาได้อยู่ สามารถเสริมจมูกได้แต่ไม่เหมาะกับทรงจมูกที่พุ่งมาก
  • เนื้อจมูกน้อยระดับ 2 เป็นจมูกที่มีเนื้อบริเวณสันจมูกน้อย แต่ยังดึงเนื้อยึดขึ้นมาได้บ้างเล็กน้อย สามารถเสริมจมูกได้แต่ไม่เหมาะกับทรงจมูกที่โด่งมาก
  • เนื้อจมูกน้อยระดับ 3 เป็นจมูกที่มีเนื้อบริเวณสันจมูกน้อยมากจนแทบจะไม่สามารถดึงออกมาได้เลย เป็นจมูกที่ไม่แนะนำให้เสริมจมูกเพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะจมูกทะลุกได้ง่ายกว่าเนื้อจมูกน้อยระดับ 1 และ 2

ทำไมเนื้อจมูกน้อยจึงต้องระมัดระวังการเสริมจมูกมากเป็นพิเศษ

นอกจากจะเสี่ยงต่อภาวะจมูกทะลุจากการเสียดสีเนื้อจมูกที่น้อยแล้ว ยังมีผลต่อความสวยที่ดูไม่เป็นธรรมชาติหลังจากเสริมจมูกอีกด้วยนะคะ เพราะเนื้อจมูกที่น้อยจะช่วยให้เห็นตัวซิลิโคนง่ายขึ้น ยิ่งมีเนื้อน้อยมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นค่ะ และที่สำคัญยังมีผลต่อแผลที่หายช้ากว่าคนที่มีเนื้อจมูกระดับปานกลาง เนื่องจากเนื้อจมูกที่น้อยจะทำให้จมูกตึงหลังเสริมจมูก ส่งผลให้แผลหายช้า อีกทั้งเสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้อได้อีกด้วย ดังนั้นหากคุณต้องการเสริมจมูกแล้วก็ควรศึกษาข้อมูลของทรงจมูกที่เข้ากับเราและเลือกศัลยแพทย์จากคลินิกชั้นนำที่มากไปด้วยประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังเสริมจมูกได้มากยิ่งขึ้นค่ะ

เนื้อจมูกน้อย เสริมจมูกแบบไหนดี

สำหรับวิธีเสริมจมูกที่เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อจมูกน้อยจะมีอยู่ 5 วิธี ได้แก่ เสริมจมูกแบบ Open (Open Rhinoplasty), เสริมจมูกแบบปิด (Close Rhinoplasty), การใช้วัสดุรองปลาย, การเย็บอินเตอร์โดม (Interdomal Suture) และการยืดผนังกั้นจมูก (Septal Extension Graft) ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อจำกัดแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. เสริมจมูกแบบ Open (Open Rhinoplasty)

เป็นเทคนิคการเสริมจมูกโดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเปิดฐานจมูกเพื่อเข้าไปปรับโครงสร้างจมูกให้ยาวขึ้นและใส่ซิลิโคนเข้าไป จากนั้นจึงใช้วัสดุอื่นในการรองปลายจมูก เช่น กระดูกอ่อนหลังหู กระดูกซี่โครง หรือเนื้อเยื่อเทียม ในการปรับแก้ปลายจมูกใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ปลายจมูกดูยาว ดูพุ่งขึ้น

แต่ทั้งนี้ที่ NSC Clinic เรามีหมอกิ๊ฟที่เชี่ยวชาญทางด้านการเสริมจมูกแบบเปิดด้วยเทคนิคพิเศษ Open Reconstruction With Lunar Graft  โดยหมอกิ๊ฟจะใช้กระดูกอ่อนหลังหูมาตกแต่งเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว (lunar graft) แล้วนำมาวางไว้ที่ปลายจมูก ซึ่งจะช่วยให้ปลายจมูกโค้งมน ละมุน ดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งคุณหมอกิ๊ฟคิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาปลายจมูกโด่งพุ่งแหลมจนเกินไป ดูไม่่เป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัญหาที่สาวไทยหลายคนเคยเจอมาก่อน และหากคุณมีเนื้อจมูกน้อยด้วยแล้ว หมอกิ๊ฟจะใส่วัสดุร่วมด้วยเพื่อให้จมูกมีมิติมากขึ้น นอกจากผู้ที่มีเนื้อน้อยแล้ว เทคนิคยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีสันจมูกสูง ฮัมพ์โก่ง ซึ่งอาจจะต้องทำการตอกฐานหรือตะไบฮัมพ์เพื่อปรับโครงสร้างจมูก และอาจจะใช้เทคนิคเสริมจมูกด้วยเนื้อเยื่อตัวเองล้วน 100% โดยที่ไม่ต้องใส่วัสดุด้วยเช่นกันค่ะ

 


2. เสริมจมูกแบบปิด (Close Rhinoplasty)

เป็นเทคนิคการเสริมจมูกโดยศัลยแพทย์จะตัดเอากระดูกอ่อนหลังหูให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ร่วมกับซิลิโคน ซึ่งจะช่วยรองปลายจมูกให้แข็งแรง แถมยังเพิ่มความโด่งของจมูกได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญยังช่วยป้องกันภาวะซิลิจมูกทะลุได้อีกด้วยค่ะ

3. การใช้วัสดุรองปลาย

ได้แก่ กระดูกอ่อนหลังหู กระดูกซี่โครง เนื้อเยื่อก้นกบ หรืออาจใช้วัสดุสังเคราะห์อย่างเนื้อเยื่อเทียม (ADM) ในการรักษา โดยศัลยแพทย์จะใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการเสริมจมูกแบบ Open เพื่อปรับโครงสร้างจมูก ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้ทรงจมูกดูยาวขึ้น ปลายจมูกดูพุ่งสวย เหมาะสำหรับผู้ที่มี่เนื้อจมูกน้อยตั้งแต่ระดับ 1 – 3 นอกจากนี้การใช้วัสดุรองปลายยังเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาปลายจมูกเหิน ปลายจมูกบาง และผู้ที่มีปลายจมูกงุ้มอีกด้วยค่ะ

4. เย็บอินเตอร์โดม (Interdomal Suture)

เป็นเทคนิคการเสริมจมูกโดยศัลยแพทย์จะเย็บกระดูกอ่อนบริเวณปลายจมูกทั้ง 2 ข้างเข้าหากัน ซึ่งจะช่วยให้ปลายจมูกดูเรียวขึ้นและยาวขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปลายจมูกใหญ่ ปลายจมูกบาน ทั้งนี้ศัลยแพทย์อาจใช้วัสดุรองปลายร่วมด้วยเพื่อป้องกันซิลิโคนทะลุออกมา

5. การยืดผนังกั้นจมูก (Septal Extension Graft)

เป็นเทคนิคการเสริมจมูกแบบเปิด (Open Rhinoplasty) ที่จะช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถปรับโครงสร้างจมูกและเคลียร์ปัญหาภายในจมูกให้หมดก่อน จากนั้นจึงนำกระดูกอ่อนจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น กระดูกอ่อนหลังหู กระดูกซี่โครง เพื่อต่อแกนกระดูกและเสริมให้ปลายจมูกดูยาวยิ่งขึ้น ปลายจมูกเชิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ซิลิโคน ซึ่งจะช่วยป้องกันจมูกทะลุได้เป็นอย่างดี แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่ได้ทำให้จมูกของคนไข้ยาวขึ้นมากนัก แต่ถือว่าได้ผลดีกว่าการเสริมจมูกแบบปิด (Close Rhinoplasty)

เนื้อจมูกน้อย เสริมจมูกทรงไหนดี

เนื่องจากเนื้อจมูกที่น้อยจึงไม่เหมาะกับทรงจมูกที่โด่งมาก เช่น ทรงหยดน้ำ ทรงจมูกสายฝอ (ทรงจมูกฝรั่ง) ทรงจมูกเจ้าหญิงธรรมชาติ เพราะอาจเสี่ยงต่อจมูกทะลุในระยะยาว ทางที่ดีควรเลือกทรงสโลปปลายพุ่งระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้หากคุณต้องการทรงอื่นแนะนำให้สอบถามศัลยแพทย์จากคลินิกชั้นนำที่มีประสบการณ์สูงจะดีที่สุดค่ะ เพื่อให้ศัลยแพทย์ช่วยประเมินและเลือกทรงจมูกที่ทั้งสวยและเหมาะกับเรามากที่สุดค่ะ

เสริมจมูกแบบโอเพ่น ที่ไหนดี

NSC Clinic เป็นศูนย์ศัลยกรรมความงามครบวงจรที่ให้บริการด้านศัลยกรรมหลากหลายประเภทเรามีทีมแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางและมีทีมแพทย์มากประสบการณ์คอยให้การดูแลทุกท่าน เพราะทางคลินิกอยากให้คนไข้ที่เข้ามารับบริการได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดโดยในการผ่าตัดศัลยกรรมแต่ละหัตถการเรามีการ “ออกแบบเคสต่อเคส” เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเข้ากับรูปหน้าของคนไข้มากที่สุดพร้อมทั้งมีทีมแพทย์ที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำได้ตรงตามความต้องการเพราะเราอยากให้ทุกท่านได้รับการบริการที่ดีเยี่ยมตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาจนรับการรักษาออกไปค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ